Sunday, April 24, 2011
ความฝันไม่เคยหลับ เพียงแค่จิตสำนึกไม่เปิดโอกาสให้เราได้ยิน
ภาพพิมพ์เอทชิ่งของ Francesco Goya ศิลปินชาวสเปน
ชื่อภาพ "The dream of reason produces monsters" ค.ศ. 1799
คาร์ล ยุง มองความฝันต่างไปจากซิกมุนด์ ฟอรยด์ ตรงที่คาร์ลยุงไม่ได้มองว่าความฝันเป็นเรื่องของจิตปัจเจก (individual psyche) เท่านั้น แต่ความฝันมีสายใยที่มองไม่เห็นร้อยรัดพัลวันกันทั้งอนาคตกาล อดีตกาล และ ปัจจุบันกาลอย่างไม่เป็นเส้นตรงของจิตร่วมหรือจิตจักรวาล (collective psyche)
ที่ว่าไม่เป็นเส้นตรงคือคำว่า"กาล"และ"เทศะ"เป็นมิติอิสระ การรับรู้ระดับจิตสำนึก(conscious)ของเราจะรับรู้ได้ในเชิงเส้นตรงเท่านั้น แต่จิตไร้สำนึก(unconscious)รับรู้ความเป็นอิสระของ time และ space ได้อย่างที่มันเป็น
คาร์ล ยุง บรรยายในสัมนาเรื่องความฝันของวัยเยาว์ว่า "ความฝันเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ถ้าหากว่านักฟิสิกส์มองว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล คืออธิบายด้วยกฏแห่งเหตุและปัจจัยได้ ความฝันก็เช่นกัน ความฝันเป็นเหตุและปัจจัยของจิต เพียงแต่ว่าขอบแดนของจิตไร้สำนึกนั้นกว่้างใหญ่ไพศาลมาก จึงค่อนข้างจะพ้นวิสัยในการหาข้อสรุปให้ความคิดระดับจิตสำนึก(เชิงเหตุผล)เข้าใจ"
อย่างไรก็ตามจิตไร้สำนึกเป็นจิตซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และมันไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว แต่สาเหตุที่เราอ่านจิตไร้สำนึกไม่ออก ก็เพราะว่าในช่วงเวลาที่เราตื่นอยู่วันทั้งวัน จิตสำนึก(conscious)ของเรามันทำเสียงดังอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา จนเราไม่สามารถได้ยินเสียงของจิตไร้สำนึก จนกว่าความง่วงจะคืบคลานเข้ามาในยามค่ำคืน จิตสำนึกจึงค่อยๆเงีบบเสียงลง เมื่อนั้นเสียงของจิตไร้สำนึกก็จะค่อยๆปรากฏขึ้นมาในความฝัน
ครูแม่ส้ม
4. 24. 2011
ไพ่ทาโรต์ประจำคืนนี้ คือ The Temperance : ตัวเรานั้นเองคือเทพผู้ยืนอยู่ระหว่างพื้นดินและสายน้ำ เรายืนอยู่ระหว่างของแข็งและของเหลว เรายืนอยู่ระหว่างความร้อนและความเย็น เรายืนอยู่ระหว่างวัตถุธาตุและอากาศธาตุ ค่ำคืนนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้ตื่นขึ้นในความฝัน เพื่อสัมผัสถึงประสบการณ์ของจิตที่ไม่แบ่งแยก ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจความบรรสานสอดคล้องแห่งเอกภาวะ
.....
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment