Wednesday, June 08, 2011

เหตุแห่งฝัน 1>2>3>4>6 ของคาร์ลยุง


มาจากเพจครูแม่ส้ม


มีเรื่องน่ารักเกิดขึ้นในหนังสือ Children's Dream ซึ่งรวบรวมคำบรรยายของดร.คาร์ลยุงเกี่ยวกับความฝันของวัยเยาว์ ในบทที่พูดถึงต้นเหตุและปัจจัยที่มำให้เกิดกระบวนการความฝัน หรือ dream process นั้นมีเยอะแยะมากมาย แต่สรุปสั้นๆได้ 5 สาเหตุ คือ

‎1. Somatic sources : คือปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความเจ็บป่วย การนอนในท่านอนที่ผิดปกติ เช่นนอนทับแขน หรือตกหมอน หรืออาหารไม่ย่อย ฯลฯ อันนี้ก็ตรงกับที่เราเรียกว่าฝันเพราะ"ธาตุกำเริบ" (ธาตุโขภะ)




2. Physical stimuli หรือ physical environment ที่เป็นตัวกระตุ้นในช่วงที่เรานอนหลับ เช่น แสงฟ้าแลบ เสียงฟ้าร้อง หนาวเกินไป ร้อนเกินไป ฯลฯ





‎3. Psychical stimuli (psychical occurrences in the environment are perceived be the unconscious) หัวข้อนี้ค่อนข้างซับซ้อน เป็นปรากฏการณ์ที่จิตไร้สำนึกถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณบางอย่าง ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งสถานที่ และสิ่งแวดล้อมของจิต เขายกตัวอย่างเช่น มีแขกมานอนค้างคืนที่บ้าน แล้วแขกคนนี้ก็ฝันถึงเรื่องราวปมปัญหาของคนในบ้านหลังนั้น ทั้งๆที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ยุงอธิบายถึงพลังงานบางอย่าง(ปมปัญหา)ที่ฟุ้งกระจายออกไปในสิ่งแวดล้อมโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว .. เขาเรียกข้อมูลประเภทนี้ว่าเป็นข้อมูลที่ลักลอบเข้ามาในความฝัน

[แปล: มันเป็นเรื่องที่เราไม่น่าจะไปรับรู้ แต่เราก็รับรู้มันจนได้ ราวกับว่าจมูกของเรายื่นทะลุกำแพงเข้าไป และสูดดมข้อมูลที่ล่องลอยอยู่ในบรรยากาศโดยที่เราไม่ได้เจตนาเลย]





‎4. Past events : อดีตในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องที่ผ่านไปเมื่อเช้า เมื่อวาน หรือปีที่แล้ว แต่หมายถึงร่องรอยความทรงจำทั้งที่จำได้ ลืมไปแล้วแต่รู้ว่าลืม และลืมไปและไม่รู้ว่าลืม (ยุงเรียกว่าเป็นข้อมูลที่ขาดการติดต่อกับจิตสำนึก) รวมไปถึงอดีตที่เป็นผลพวงจากการพิมพ์ซ้ำของแบบแผนทางจิตที่เป็นสากล (collective psyche) .. มีตัวอย่างการฝันว่าละเมอพูดภาษาแปลกๆที่เจ้าตัวไม่รู้จัก แต่บังเอิญว่าคนที่ได้ยินรู้ว่าคนที่กำลังนอนละเมอนั้นพูดภาษาอะไร




5 . Future events : อันนี้เป็นฝันเปลี่ยนวิถี

......

Note แปะไว้


เคยอ่านเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งของปู่ยุง(นานแล้วหาต้นตอไม่เจอ) บอกว่าการศึกษาวิทยาการ(ในยุคของแก) นักวิชาการให้คุณค่ากับจิตสำนึกมากไปโดยถือว่า จิตสำนึก(conscious) เป็นเรื่องที่มีสาระ (make sense) และไม่ค่อยให้คุณค่ากับจิตไร้สำนึก (unconscious) เพราะจิตไร้สำนึกทำงานอย่างคลุมเครือ ทำให้นักวิชาการมองข้ามเรื่องจิตไร้สำนึกไปและมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ (nonsense) .. แต่กระนั้นคาร์ลยุงก็มุ่งมั่นค้นคว้าและศึกษาเรื่อง"เหนือสาระ"ของแกต่อไป




ภายหลังประโยคนี้ของปู่แกได้กลายเป็นประโยคยอดนิยมของสานุศิษย์จิตวิทยายุงเกี้ยน ..."The pendulum of the mind oscillates between sense and nonsense, not between right and wrong." (จากหนังสือ Memories, Dreams, Reflections)




เหตุผลที่นักมนุษยนิยมทางเลือกเป็นศิษย์สายยุงเกี้ยนกันเยอะ เพราะแนวคิดของคาร์ลยุง เป็นแนวคิดที่ไม่นิยมตัดสินแบบถูก-ผิด หรือแบบขาวจัด-ดำจัด ยุงอธิบายไว้หลายแห่งเกี่ยวกับเรื่องสัญลักษณ์วงกลมหยินหยางซึ่งอ้างอิงจากตำราอี้จิงของจีน (กระทั่งปู่แกมีตราสัญลักษณ์ส่วนตัวเป็นรูปหยินหยางกะเขาด้วย)







ในวงกลมหยินหยาง (อันที่จริงต้องเรียกว่าวงกลมไท่จี๋..ปล.ไท่จี๋ไม่ได้แปลว่ามวยจีนแต่เป็นปรัชญาการใช้ชีวิต) ในสีขาวและสีดำของวงจรหยินหยางนั้น เป็นธรรมชาติแห่งทวิภาวะ หรือกฏของสิ่งคู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นข้อหนึ่งของกฏธรรมชาติ แต่กฏของสิ่งคู่ตรงข้ามดำเนินคู่ไปกับกฏอีกกฏหนึ่งคือกฏแห่งความเปลี่ยนแปลงหรือการหมุนเวียนแทนที่ ดังนั้น หยิน(ส่วนสีดำ)ก็จะแปรเปลี่ยนมาเป็นหยาง(ส่วนสีขาว)เมื่อ ถึงเวลาที่เหมาะสม ดังเช่น กลางคืนและกลางวัน ..

ด้วยกฏธรรมชาตินี้ คาร์ลยุงกล่าวว่า ที่เขาพูดว่า ลูกตุ้ม(เพนดูลัม)ของจิต แกว่งไปมาระหว่างขั้วสองข้างตลอดเวลา (เหมือนลูกตุ้มนาฬิกาที่มีชีวิต) ด้านหนึ่งคือ จิตสำนึก อีกด้านคือ จิตไร้สำนึก ไม่ว่าเราจะสำเหนียกรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ลูกตุ้มชีวิตนี้ก็แกว่งของมันไปอย่างนี้แหละ และสองขั้วนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเรื่องผิดถูก ชั่วดี ควรไม่ควร ...

คาร์ลยุงให้แง่คิดในการมองเรื่อง"บาปและความชั่วร้าย"แตกต่างไปจากความเชื่อทางศาสนา เขามองว่าจิตใจที่มีสุขภาพสมบูรณ์ คือการเผยออกอย่างสมดุลของทั้งจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก .....

(เรื่องนี้อธิบายต่อได้ว่า ทำไมดร.สโตนจึงสานต่อเป็นวิชาว๊อยซ์ไดอะล็อก ที่ให้กลับมาตระหนักถึงความสมดุลของตัวตนสองด้าน..  Voice Dailogue : The Psychology of Selves )





.................................................

ตามไปคุยกันต่อได้ที่เพจนี้นะ
ถอดรหัสภาพ ไพ่ บทกวี และความฝัน : Decoding Symbols in Arts, Dream and Tarot